พฤทธิ - ปรัก - จักร - ไทย


          โหราศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ยึดถือหลักเกณฑ์ซึ่งเรียกว่า พฤทธิ - ปรัก - จักร - ไทย ดังนี้
               พฤทธิเกณฑ์ หมายถึง พระอาทิตย์สถิตย์อยู่ในราศีเมษ - สิงห์ - ธนู ท่านว่า จะมีความเจริญรุ่งเรือง
               ปรักเกณฑ์ หมายถึง พระอังคารสถิตย์อยู่ในราศีพฤษภ - มังกร - กันย์ ท่านว่า จะเป็นยอดคน
               จักรเกณฑ์ หมายถึง พระเสาร์สถิตย์อยู่ในราศีตุลย์ - กุมภ์ - เมถุน ท่านว่า จะได้ครองแผ่นดิน
               ไทยเกณฑ์ หมายถึง พระราหูสถิตย์อยู่ในราศีพิจิก - มีน - กรกฏ ท่านว่า จะหาคนเสมอเหมือนมิได้
          โดยมีเคล็ดลับอยู่ว่า
               กรณีพระอาทิตย์เป็นพฤทธิเกณฑ์ ควรมีพระพฤหัสบดีหรือพระอังคารร่วมตรีโกณถึง
               กรณีพระอังคารเป็นปรักเกณฑ์ ควรมีพระจันทร์หรือพระพุธร่วมหรือตรีโกณถึง
               กรณีพระเสาร์เป็นจักรเกณฑ์ ควรมีพระศุกร์ร่วมตรีโกณถึง
               กรณีพระราหูเป็นไทยเกณฑ์ สามารถแสดงความดีเด่นได้ด้วยตนเอง

          อนึ่ง หลังจากมีการคิดค้นดวงอุจจ์ขึ้นมาใช้ เกณฑ์พฤทธิ - ปรัก - จักร - ไทย ได้ถูกยกเลิกไปพร้อมกับดวงมูลเกษตรหรือดวงมูลตรีโกณ